ประวัติ
ท่าเรือระนอง เป็นประตูการค้าทางฝั่งทะเลอันดามันของไทย สามารถขนส่งสินค้า/ตู้สินค้าเชื่อมโยงเส้นทางการค้ากับประเทศในเอเชียใต้ แอฟฟริกา ยุโรป และกลุ่มสมาชิกประเทศต่างๆ เช่น BIMSTEC โดยประวัติความเป็นมา ดังนี้
พ.ศ. 2543 - กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี ได้ดำเนินการก่อสร้างท่าเทียบเรืออเนกประสงค์ ระนอง (ระยะที่ 1) โดยก่อสร้างท่าเทียบอเนกประสงค์ ขนาดกว้าง 26 เมตร ยาว 134 เมตร สามารถรองรับรับเรือสินค้า ขนาดไม่เกิน 500 GT. จอดเทียบท่าพร้อมกันไม่เกิน 2 ลำ สะพานเชื่อมฝั่ง (คู่) 2 สะพาน กว้าง 10 เมตร ยาว 250 เมตร ลานกองสินค้า อาคารควบคุมหน้าท่า และโรงพักสินค้าทัณฑ์บน กว้าง 25 เมตร ยาว 60 เมตร แล้วเสร๋็จเมื่อวันทีี่ 23 กรกฏาคม 2543
พ.ศ. 2546 - คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2546 ให้การท่าเรือแห่งประเทศไทย เข้าบริหารประกอบการท่าเรือระนอง
- ต่อมาการค้าระหว่างประเทศในแถบเอเชียใต้ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง จึงได้ก่อสร้างท่าเทียบเรือใหม่ขึ้น (ระยะที่ 2) โดยก่อสร้างท่าเทียบเรือตู้คอนเทนเนอร์ ขนาดกว้าง 30 เมตร ยาว 150 เมตร เพื่อเพิ่มความสามารถ
ในการรับเรือสินค้าและเรือตู้สินค้า ขนาดไม่เกิน 12,000 เดดเวทตัน สะพานเชื่อมฝั่ง 1 สะพาน กว้าง 7.5 เมตร ยาว 212 เมตร และสะพานเชื่อมกับท่าเรืออนกประสงค์ กว้าง 8.5 เมตร ยาว 40 เมตร โดยได้เปิดใช้บริการอย่างเป็นทางการตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2549 เป็นต้นมา โดยมีลูกค้ากลุ่มผู้รับสัมปทานขุดเจาะน้ำมันปิโตรเลียม และก๊าซธรรมชาติในอ่าวเมาะตะมะ สาธารณรัฐแห่งสภาพเมียนมา และกลุ่มผู้สนับสนุนกิจกรรมการขุดเจาะน้ำมันฯ เข้ามาใช้บริการ อย่างต่อเนื่องเป็นต้นมา
ในการรับเรือสินค้าและเรือตู้สินค้า ขนาดไม่เกิน 12,000 เดดเวทตัน สะพานเชื่อมฝั่ง 1 สะพาน กว้าง 7.5 เมตร ยาว 212 เมตร และสะพานเชื่อมกับท่าเรืออนกประสงค์ กว้าง 8.5 เมตร ยาว 40 เมตร โดยได้เปิดใช้บริการอย่างเป็นทางการตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2549 เป็นต้นมา โดยมีลูกค้ากลุ่มผู้รับสัมปทานขุดเจาะน้ำมันปิโตรเลียม และก๊าซธรรมชาติในอ่าวเมาะตะมะ สาธารณรัฐแห่งสภาพเมียนมา และกลุ่มผู้สนับสนุนกิจกรรมการขุดเจาะน้ำมันฯ เข้ามาใช้บริการ อย่างต่อเนื่องเป็นต้นมา
พ.ศ.2558 - บริษัท เอ็นซีแอล อินเตอร์เนชั่นแนล โลจิสติกส์ จำกัด ได้เปิดให้บริการเดินเรือสินค้า เพื่อขนส่งสินค้า/ตู้สินค้า เส้นทางท่าเรือระนอง ไปยังท่าเรือย่างกุ้ง สาธารณรัฐแห่งสภาพเมียนมา ตั้งแต่ปลายเดือนกุมภาพันธ์ ถึงกลางเดือนกรกฎาคม 2558 มีปริมาณตู้สินค้าผ่านท่าเรือระนอง จำนวน 4,007.00 TEUs. ปัจจุบันได้หยุดให้บริการดังกล่าวแล้ว เนื่องจากไม่มีสินค้าขาเข้ากลับมายังประเทศไทย ทำให้บริษัทต้องแบกรับต้นทุนในการดำเนินการสูง